ประวัติความเป็นมาของตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย

เกี่ยวกับเรา

ประวัติความเป็นมาจังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 2 ประมาณ 616 กิโลเมตร จังหวัดหนองคายมีประวัติความเป็นมายาวนานประมาณ 200 ปีเศษ เป็นจังหวัดที่อยู่ชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน เมืองหนองคาย หรือจังหวัดหนองคาย เดิมชื่อ บ้านไผ่ ประวัติการจัดตั้งเมืองนั้น เนื่องจากในสมัยรัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนคร เวียงจันทน์ ได้ตั้งตัวเป็นกบฎยกกองทัพผ่านหัวเมืองรายทางมาจนถึงนครราชสีมา ทางกรุงเทพ ได้โปรดให้พระยาราชเทวี เป็นแม่ทัพมาปราบ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ยกทัพมาจากเมืองยโสธร และ พระยาเซียงสามาช่วยเป็นกำลังสำคัญ ในที่สุดสามารถจับตัวเจ้าอนุวงศ์ลงไปกรุงเทพ ฯ จนสำเร็จ และ ได้พระราชทานบำเหน็จทุกถ้วนหน้า แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวสุวอธรรมา เลือกทำเลที่จะสร้างเมือง 4 เมือง คือ เมืองพานพร้าว (ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่) เมืองเวียงคุก เมืองปะโค และเมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) พ.ศ. 2370 ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ได้เลือกเอาบ้านไผ่สร้างเป็นเมืองหนองคาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เป็นพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรก และให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นตรงต่อเมืองหนองคาย ในปี พ.ศ. 2434 ภายหลังกบฎฮ่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นสมุหเทศาภิบาล ประจำมณฑลลาวพวน ตั้งที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองหนองคาย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2436 ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และระบุในสัญญาห้ามมิให้ไทยตั้งหรือนำกองทัพทหารอยู่ในเขต 25 กิโลเมตรจากชายแดน กรมหมื่น ประจักษ์ศิลปาคมจึงได้ย้ายที่ทำการมณฑลไปอยู่บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง และตั้งเป็นมณฑลอุดรธานี มาจนถึงรัชกาลที่ 6 และในปี พ.ศ. 2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้า ฯ ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น โดยให้ยกเลิกระบบเจ้าปกครองทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน 2458 กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีคำสั่งสถาปนาเมืองข้าหลวงปกครอง ซึ่งต่อมาเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหาร ส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและสภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ทอดขนานยาวไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีความยาวทั้งสิ้น 210 กิโลเมตร มีจุดผ่านแดนถาวร 3 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 โดยให้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย ไปตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ

ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ (นับเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคอีสาน โดยพื้นที่ทั้งหมดก่อนที่จังหวัดบึงกาฬจะแยกตัวไป มีประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร[5]) ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 – 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับกำแพงนครเวียงจันทน์ เขตเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอนายูง และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากชม จังหวัดเลย

สัญลักษณ์ของจังหวัดหนองคาย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย คือ ต้นไผ่อยู่ในหนองน้ำ

ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย คือ ต้นชิงชัน

คำขวัญของจังหวัดหนองคาย
วีรกรรมปราบฮ่อหลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว

การปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 62 ตำบล 678 หมู่บ้าน เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 17 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 48 แห่ง

ด้านสังคม
ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก จากนิตยสาร Modern Maturity ด้าน

การศึกษา
จังหวัดหนองคาย มีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา ทั้งหมด 2 เขต และมัธยมศึกษาอีก 1 เขต ซึ่งครอบคลุมโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดหนองคายทั้งหมด 31 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคายอีก 1 แห่ง

สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ปัจจุบันอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษาทั้งหมด ส่วนสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ศูนย์หนองคาย, สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1, มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

ประวัติตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย
ประวัติตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย  ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2434 เดิมเรียกสถานีตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย มีผู้บังคับกองเป็นหัวหน้า คนแรกคือ พ.ต.ต.หลวงศักดิ์พลสิทธิ์ ปัจจุบันมีผู้บังคับการเป็นหัวหน้า  
รายนามผู้บังคับบัญชา ระดับผู้บังคับกองจังหวัด 
1.พ.ต.ต.หลวงศัดิ์พลสิทธิ์ ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2459 – 2461
2. ร.ต.อ.หลวงสท้านพลแสน ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2461 – 2464
3. ร.ต.ท.เพิ่ม  รัตชตะปิติ ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2464 – 2465
4. ร.ต.ท.ฉ่ง  สุวรรณเมฆ ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2465 – 2466
5. ร.ต.อ.หลวงวรโกศล ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2466 – 2474
6. ร.ต.อ.หลวงแผ้วพาลชน ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2474 – 2476
7. ร.ต.อ.ชุบ  อาจารย์ยางกูร ผู้บังคับกองจังหวัดหนองคาย 2459 – 2480
ระดับผู้กำกับจังหวัด
8. พ.ต.ต.หลวงนิตยการบริรักษ์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2480 – 2482
9. พ.ต.ต.หลวงชาญเชิงรณ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2482 – 2484
10. พ.ต.ต.พูน  ตันตรสนะ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2484 – 2485
11. พ.ต.ต.สม  อาขวาคม ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2485 -2486 
12. พ.ต.ต.สังข์  ณ บางช้าง ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2486 – 2489 
13. พ.ต.ต.ชนะ  วงษ์ชะอุ่ม ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2489 – 2491 
14. พ.ต.ต.เนื่อง  รายนาค ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2491 -2492 
15. พ.ต.ต.ทิม  เพ็ญโรจน์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2492 – 2493 
16. ร.ต.อ.ฐิติ  หิรัญยัตฐิติ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2493 -2494  
17. พ.ต.อ.มล.เอบ  เดชาติวงศ์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2494 -2496 
18. พ.ต.ต.พุ่ม  เรืองวุฒิ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2496 -2496 
19. พ.ต.ต.ประเสริฐ  วรกิจโภคาทร ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2496 -2497 
20. พ.ต.ต.ตรึก  สุทธิจิตร ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2497 -2500 
21. พ.ต.ท.สนั่น  นรินทร์สรศักดิ์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2500 -2502 
22. พ.ต.อ.ประสิทธิ์  พิรานนท์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2502 -2503 
23. พ.ต.อ.พงษ์ศักดิ์  ประณุทนรพาล ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2503 – 2505 
24. พ.ต.อ.ชาย  นรศักดิ์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2505 – 2507
25. พ.ต.อ.รุจ  การชราชว์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2507 – 2510 
26. พ.ต.อ.ประกอบ  ชูเทศะ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2510 -2511 
27. พ.ต.อ.ชวน  ศรีประสิทธิ์ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2511 -2512 
28. พ.ต.อ.วิจิตร  ไตรสุวรรณ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2512 -2514 
29. พ.ต.อ.สวง  สุภานุชาติ ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2514 – 2516 
30. พ.ต.อ.ธงชัย  สุนทรภัค ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2516 – 2518 
31. พ.ต.อ.เจตนา  อธิธาดา ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2518 – 2519 
32. พ.ต.อ.อนันต์  วรอุไร ผู้กำกับจังหวัดหนองคาย 2519 – 2521 
ระดับผู้กับการจังหวัด
33. พ.ต.อ.ชลินทร์  เปลี่ยนขำ ผู้กำกับการจังหวัดหนองคาย 2521 – 2525 
34. พ.ต.อ.สายัณห์  แสงสายัณห์ ผู้กำกับการจังหวัดหนองคาย 2525 – 2529
35. พ.ต.อ.ช่วง  สัจจพงษ์ ผู้กำกับการจังหวัดหนองคาย 2529 – 2531 
36. พ.ต.อ.สมศักดิ์  พิสุทธิสุวรรณ ผู้กำกับการจังหวัดหนองคาย 2531 -2532 
ระดับรองผู้บังคับการ(ทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด)
37. พ.ต.อ.สมศักดิ์  พิสุทธิสุวรรณ รองผู้บังคับการ(ทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย) 2532 – 2533 
38. พ.ต.อ.สมชัย  พานิชกุล รองผู้บังคับการ(ทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย) 2533 – 2535 
39. พ.ต.อ.ทองเปล  แพ่งคำ รองผู้บังคับการ(ทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย) 2535 – 2537 
40. พ.ต.อ.อุทิศ  พงษ์พานิช รองผู้บังคับการ(ทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย) 2537 – 2538 
ระดับผู้บังคับการจังหวัด
41. พล.ต.ต.นภา  ปาณิกบุตร  ดำรงตำแหน่ง 2538 – 2541 
42. พล.ต.ต.บุญชอบ  คงน้อย ดำรงตำแหน่ง 2541 – 2542 
43. พล.ต.ต.รชต  เย็นทรวง ดำรงตำแหน่ง 2542 – 2543 
44. พล.ต.ต.ไพรินทร์  บุณยะผลึก ดำรงตำแหน่ง 2543 – 2544 
45. พล.ต.ต.สุกิจ  อุดมเศรษฐ์ รักษาการในตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย 17 พ.ย.2544 – 13 เม.ย.2545
46. พล.ต.ต.สุกิจ  อุดมเศรษฐ์  ดำรงตำแหน่ง 13 เม.ย.2545 – 1 ต.ด.2545 
47. พล.ต.ต.วราวุธ  พุกประยูร  ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2545 – 1 ต.ค.2546 
48. พล.ต.ต.สุพร  พันธุ์เสือ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2546 – 1 ต.ค.2547 
49. พล.ต.ต.ยุทธนา  ปาละนิติเสนา  ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2547 – 1 ต.ค.2549 
50. พล.ต.ต.ปราโมทย์  เอียมทัศน์ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2549 – 1 ต.ค.2551 
51. พล.ต.ต.วรวุฒิ  นาสมพันธุ์  ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2551 – 16 ก.พ.2552
52. พล.ต.ต.พิสัณห์ อาวีกร  วรเทพนิตินันท์ ดำรงตำแหน่ง 16 ก.พ.2552 – 2553
53. พล.ต.ต.ฉลอง ภาคย์ภิญโญ ดำรงตำแหน่ง 2553 – 2554
54. พล.ต.ต.สมยศ พรหมนิ่ม ดำรงตำแหน่ง 2554 – 2556
55. พล.ต.ต.ชัยญัติ สายถิ่น ดำรงตำแหน่ง 2556 – 2557
56. พล.ต.ต.ชูรัตน์ ปานเหง้า ดำรงตำแหน่ง 2557 – 2558
57. พล.ต.สมชาย นุ่มโต ดำรงตำแหน่ง 2558 – 2559
58. พล.ต.ต.ไพศาล ลือสมบูรณ์ ดำรงตำแหน่ง 2559 – 2562
60. พล.ต.ต.สุรชัย สังขพัฒน์ ดำรงตำแหน่ง 2562 – 2563
61. พล.ต.ต.กิตติศักดิ์ จำรัสประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง 2563 – 2564
62. พล.ต.ต.พุฒิพงศ์ มุสิกูล ดำรงตำแหน่ง 2564 – 2565
63 พล.ต.ต.พรชัย ชลอเดช ดำรงตำแหน่ง 2565 – 2566
63 พล.ต.ต.พิรัชย์ อุดมพิสุทธิคุณ ดำรงตำแหน่ง 2566 – ปัจจุบัน

สถานีตำรวจ ในปกครอง 14 สถานี
– ผู้กำกับการ เป็นหน้าหน้าสถานี 11 สถานี ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรเมืองหนองคาย สถานีตำรวจภูธรบ้านเดื่อ สถานีตำรวจภูธรเวียงคุก สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ สถานีตำรวจภูธรโพนพิสัย  สถานีตำรวจภูธรศรีเชียงใหม่ สถานีตำรวจภูธรโพธิ์ตาก สถานีตำรวจภูธรสังคม สถานีตำรวจภูธรสระใคร สถานีตำรวจภูธรรัตนวาปี  สถานีตำรวจภูธรเฝ้าไร่
– สารวัตรใหญ่ เป็นหัวหน้าสถานี 3 สถานี ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรเซิม สถานีตำรวจภูธรเหล่าต่างคำ สถานีตำรวจภูธรนางิ้ว

ตำรวจหน่วยข้างเคียงในพื้นที่ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจทางหลวง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน